RSS

กิจกรรมพลิกโฉมมหาวิทยาลัย เพื่อความเป็นเลิศสู่การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนและในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Microsoft Team

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร จัดกิจกรรมพลิกโฉมมหาวิทยาลัย เพื่อความเป็นเลิศสู่การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ณ ห้องประชุมรวงผึ้ง ชั้น 8 อาคารเรียนรวมและอำนวยการ (อาคาร 14) และในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Microsoft Team

          วันที่ 17 สิงหาคม 2564 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรียานุช พรหมภาสิต รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร เป็นประธานในการประชุม กิจกรรมพลิกโฉมมหาวิทยาลัย เพื่อความเป็นเลิศสู่การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ไชยยันต์ ชนะพรมมา คณะอนุกรรมการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย และผู้แทนของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นวิทยากรบรรยาย “ทิศทางการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย” จากนั้นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรียานุช พรหมภาสิต รักษาราชการแทนอธิการบดี ได้นำเสนอกรอบแนวคิดการนำศักยภาพและความเชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพลิกโฉมจุดเน้น 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านนวัตกรรม อาหารและผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อเพิ่มมูลค่าพืชเศรษฐกิจ 2) ด้านอัตลักษณ์พื้นถิ่น เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และ3) ด้านผลิตและพัฒนาครูที่มีฐานสมรรถนะตอบสนองบริบทเชิงพื้นที่ จากนั้นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ขวัญดาว แจ่มแจ้ง รองอธิการบดีฝ่ายวางแผน ประกันคุณภาพการศึกษา และบริการวิชาการ ได้นำเสนอร่างแผนการพลิกโฉมสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร (แผน 5 ปี)

          สำหรับโครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) เป็นโครงการที่เริ่มต้นปฏิรูประบบการศึกษา โดยการกำหนดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาเชิงยุทธศาสตร์ เป็นการกำหนดเป้าหมาย และผลลัพธ์การดำเนินงานตามจุดเน้นยุทธศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษาที่มีการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีขึ้นไป เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของประเทศ และสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศโดยกำหนดนิยาม คุณลักษณะ ตัวชี้วัด และนิยามเชิงปฏิบัติการครอบคลุมผลการดำเนินงาน (Performance) และศักยภาพ (Potential) ของสถาบันอุดมศึกษาแต่ละกลุ่ม เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งได้ใช้ความสามารถและศักยภาพอย่างมีประสิทธิภาพ การปฏิรูประบบอุดมศึกษา จะใช้วิธีการกำหนดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ 1) พัฒนาการวิจัยระดับแนวหน้าของโลก (Global and Frontier Research 2) พัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม (Technology Development and Innovation)  3) พัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่ (Area-Based and Community Engagement) 4) ผลิตและพัฒนาบุคลากรวิชาชีพสาขาจำเพาะ (Development of Professionals and Specialists)  และ5) ด้านการพัฒนาปัญญาและคุณธรรมด้วยหลักทางศาสนา (Moral & Intellectual Cultivation)

          สำหรับการประเมินตนเองตามตัวชี้วัดศักยภาพองค์กร และตัวชี้วัดผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยฯ  โดยคณะกรรมการการประเมินตนเองตามชี้วัดศักยภาพองค์กร และตัวชี้วัดผลการดำเนินงานเพื่อกำหนดกลุ่มสถาบัน พบว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร จัดอยู่ในกลุ่มที่ 3 พัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่ (Area-Based and Community Engagement) เนื่องจากมีความเชี่ยวชาญ และสมรรถนะที่สอดคล้องกับบริบทการพัฒนาของพื้นที่ ซึ่งมีจำนวน 3 ประเด็นที่จะเป็นเป้าหมายของการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรให้เป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นศูนย์กลางด้านองค์ความรู้ นวัตกรรม วิจัยและเป็นที่พึ่งของประชาชนในเขตภาคเหนือตอนล่าง โดยมีสาขาความเชี่ยวชาญที่มุ่งเน้น ดังนี้

  1. พัฒนานวัตกรรมอาหารและผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อยกระดับพืชเศรษฐกิจจังหวัดกำแพงเพชร และจังหวัดตาก (กล้วยไข่ อ้อย มันสำปะหลัง ข้าว ปาล์มน้ำมัน)
  2. พัฒนาอัตลักษณ์พื้นถิ่นของชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชรและจังหวัดตาก
  3. ผลิตและพัฒนาครูที่มีฐานสมรรถนะตอบสนองบริบทเชิงพื้นที่
Back
img_9993_resize
 
Download
img_9992_resize
 
Download
img_9990_resize
 
Download
img_9988_resize
 
Download
img_9987_resize
 
Download
img_9985_resize
 
Download
img_9982_resize
 
Download
img_9980_resize
 
Download
img_9979_resize
 
Download
img_9978_resize
 
Download
img_9977_resize
 
Download
img_9976_resize
 
Download
img_9974_resize
 
Download
img_9970_resize
 
Download
img_9969_resize
 
Download
img_9968_resize
 
Download
img_9966_resize
 
Download
img_9965_resize
 
Download
img_9964_resize
 
Download
img_9962_resize
 
Download
img_9961_resize
 
Download
 
 
Powered by Phoca Gallery